2.โครงกาสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

2.โครงกาสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร







๑. ความเป็นมา


      เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2551 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่ข้าราชการและพนักงานอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า โดยขอให้มีความร่วมมือกับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ช่วยดูแล รักษาป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งแหล่งน้ำและป่าไม้ให้มีคงอยู่ตลอดไป ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

     นายวรการ ปิ่นหยา นักเกษตรในพระองค์ ได้รับข้อสั่งการจากนายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีกระแสรับสั่งกับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีว่า “ให้ดำเนินตามพระราชดำริในแนวทางสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง เป็นกรอบในการทำงาน” ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนที่พิจารณาขอจัดตั้งไปแล้ว จึงกำหนดหลักยุทธศาสตร์อยู่สองประการ ซึ่งต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กัน เรียกว่ายุทธศาสตร์ควบคู่ ประการที่หนึ่ง ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประการที่สอง ยุทธศาสตร์ความมั่นคง จากแนวพระราชดำริดังกล่าว สำนักพระราชวัง โดยนายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง มอบหมายให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงานสนองพระราชดำริและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วง 

   ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเป็นแหล่งจ้างแรงงาน แหล่งผลิตอาหาร และแหล่งให้ความรู้ด้านการเกษตรที่ถูกต้องแก่เกษตรกรที่สนใจ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0010.1/5242 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2552







๒. ผลการดำเนินงาน



   
๑. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

    

      ๑.๑. ได้ดำเนินการเจาะโลหิตตรวจสารพิษตกค้างในโลหิตเกษตรกร จำนวน  200 ราย พบว่ามีเกษตรกรที่มีความเสี่ยง จำนวน 56 ราย เกษตรกรที่ปลอดภัย จำนวน 107 ราย และเกษตรกรที่ไม่ปลอดภัย จำนวน 37 ราย ซึ่งพบว่า ในปี พ.ศ.2560 ผลการตรวจสารพิษตกค้างในโลหิตเกษตรกรระดับไม่ปลอดภัยลดลงเป็น 3 เท่าจากปี 2559 จะเห็นว่าเกษตรกรตระหนักหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยขึ้น จึงได้แนะนำการใช้สารเคมีให้ถูกวิธี

    ๑.๒. การดำเนินงานในการวางแผนครอบครัว เพื่อให้มีจำนวนประชากรเหมาะสมกับรายได้ โดยมีราษฎรเข้าร่วมโครงการทำหมัน จำนวน 2 ราย และมีการคุมกำเนิดในรูปแบบต่างๆ อีก เช่น การกินยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด อีกหลายราย ทำให้อัตราการเกิดลดลง

    ๑.๓. ดำเนินการจัดทำเส้นทางคมนาคม จากอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าถึงสถานีฯ ระยะทาง 34 กิโลเมตร


    ๒. ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


        ๒.๑ ดำเนินการจัดการฝึกอบรมเยาวชนอาสาพิทักษ์ป่า

     ๒.๒. ดำเนินโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ทำกินให้เป็นป่าที่สามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นในระยะยาว โดยการส่งเสริมให้เกษตรปลูกไม้ผล


๓. แนวทางที่จะดำเนินการต่อไป
    ๑. ด้านการเผยแพร่ความรู้
  - ดำเนินการให้ความรู้เกษตรกรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น การทำกล้วยตาก การทำน้ำผลไม้เข้มข้น เป็นต้น เพื่อให้เกษตรมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าแปรรูป
   ๒. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  - ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามเส้นทางน้ำ แทนการใช้แผ่นไม้เดิม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการคมนาคมของราษฎรในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานราชการ ตลอดจนนักท่องเที่ยว
   ๓. ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  - ดำเนินการจัดการฝึกอบรมเยาวชนอาสาพิทักษ์ป่า ให้กับเยาวชนในพื้นที่ เพื่อปลูกจิตสำนึก และสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงประโยชน์ของป่าไม้

http://www.rdpbproject.com/press56/index.php?option=com_content&view=article&id=530&Itemid=155

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

3.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

1. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพ้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี